การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่ า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา
การแต่งกายของชาวล้านนา แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่ โดยเฉพาะ จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย นับตั้งแต่สมัยของพระญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้
“ล้านนา” ในปัจจุบันหมายถึง อาณาเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน การแต่งกายพื้นเมืองของล้านนา จึงหมายถึงการแต่งกายของชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในล้านนาในอดีตอาณาจักรล้านนาในบางยุคสมัยอาจครอบคลุมไปถึงรัฐ ต่างๆ เช่นสิบสองปันนา รัฐฉาน เชียงตุง เป็นต้น ซึ่งต่างก็เคยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน ชนกลุ่มใหญ่ที่สร้างสมอารยธรรมในล้านนาก็คือ “ชาวไทยวน” ซึ่ง ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า “คนเมือง” นอกจากนี้มีวัฒนธรรมกลุ่มชนต่างๆ ผสมผสานกันได้แก่ ชาวไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่(ไต) ชาวไทยวนในล้านนามีวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้สอยและแต่งกายเป็นเอกลักษณ์มา แต่โบราณ จากหลักฐานด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ ในเชียงใหม่และน่าน ในเชียงใหม่เช่นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์วรวิหาร และวัดป่าแดด จิตรกรได้เขียนไว้เป็นหลักฐานประกอบกับการบันทึกของมิชชั่นนารี หรือผู้รู้ที่เล่าสืบต่อกันมา
การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม
ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาใน อดีต เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความ เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้ ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๔
ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาใน อดีต เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความ เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้ ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๔


การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป
ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
ทุกข์(จน)ไม่ มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้
ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
ทุกข์(จน)ไม่ มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้
ที่มา
1.https://sites.google.com/site/silpalaeawathnthrrm/silp-wathnthrrm-phakh-henux/1-kar-taeng-kay-phakh-henux
2.https://sites.google.com/site/kritlinna/kar-taeng-kay-phakh-henux-2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น