วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดอกไม้เมืองหนาว



     ดอกไม้เมืองหนาว คือ ดอกไม้ที่บานสะพรั่งในช่วงฤดูหนาว ดอกไม้เมืองหนาว ในเมืองไทยก็ปลูกกันเยอะและที่เชียงใหม่ก็เป็นแหล่งขายส่งดอกไม้สดขนาดใหญ่ มีดอกไม้หลายชนิดให้เลือกซื้อ เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเบญจมาศ ดอกลิลลี่ ดอกสแตติช ดอกยิบโซ ดอกแกลดิออรัส ดอกกุหลาบดอกใหญ่ ตัดดอกขายเกือบตลอดปี ดอกไม้เมืองหนาว สวยงามมากเวลาบานสะพรั่ง คนจึงนิยมนำไปตกแต่งหรือประดับบ้านและจัดงานต่างๆกันอย่างมาก วิธีเลือกซื้อ ดอกไม้เมืองหนาว ควรเลือกดอกที่ยังตูม หรือเพิ่งเริ่มแย้มกลีบ ดูช่อที่ดอกสมบูรณ์ ก้านแข็ง โคนดอกสีเขียวสด


     ดอกไม้เมืองหนาว ชอบขึ้นตามเทือกเขาและอากาศที่เย็น คนที่หลงใหล ดอกไม้เมืองหนาว หาดูได้แถบภาคเหนือ มวลหมู่ดอกไม้งามหลากหลายชนิดพากันผลิดอกชูช่อไสว รอคอยนักท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวชม และที่โครงการหลวง เป็นโครงการส่วนพระองค์ ที่เลื่องชื่อลือชาเรื่องความงามของดอกไม้และเกษตรกรรมเมืองหนาวนานาพรรณ สำหรับคนที่ชื่นชอบดอกไม้หลงใหลไปกับสีสันสดใสของไม้ดอกไม้ใบอร่ามงดงาม และ ดอกไม้เมืองหนาว นานาชนิด ซึ่งก่อเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง เป็นที่น่าภูมิใจของคนไทย ทรงใช้พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางแห่งนี้เป็นพื้นที่วิจัยเหล่าพรรณพืชเมืองหนาวมนต์เสน่ห์แห่งดอกไม้ หนาวนี้รีบเดินทางไปสัมผัสในความงาม ดอกไม้เมืองหนาว กันนะคะ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ดีเลิศจริงๆ

หนาวนี้เอาดอกไม้พร้อมชื่อเฉพาะทางเหนือมาฝากกัน
สำหรับใครที่จะขึ้นไปเที่ยวเมืองเหนือจะได้รู้จักชื่อเฉพาะนะ

1.ดอกลำดวน

     ดอกหอมนวล หรือ ลำดวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melodorum fruticosum Lour.) 
เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นพันธ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดศรีสะเกษนอกจากนี้ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงด้วยเช่นกัน
     ดอกหอมนวลเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผล เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว

2.ดอกราชพฤกษ์

     ราชพฤกษ์ หรือ ลมแล้ง (อังกฤษ: Golden shower; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula)
เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

3.ดอกเอื้องสามปอยหลวง

     เอื้องสามปอยหลวง (เป็นดอกไม้ต้องห้ามในสมัยก่อน โดยใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการแด่กษัตริย์ล้านนา ซึ่งคนธรรมดาสามัญชนจะมีไว้ในครอบครองไม่ได้)
     เอื้องสามปอยหลวง (Vanda benbonii) เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายกับสามปอยชมพู มีใบกว้างและยาวกว่าเล็กน้อย ดอกช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก ดอกมีกลีบนอกและกลีบในมีสีขาวอมเหลืองกลีบดอกห่าง หูปากทั้งสองข้างสีขาวแผ่นปากสีเขียวเหลือบเหลือง ปากเว้าเดือยสั้น รูปดอกใหญ่ขนาดดอกโตประมาณ 7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

4.ดอกหงอนไก่

หงอนไก่ หรือ ดอกด้าย ชื่อวิทยาศาสตร์: (Celosia argentea L. var. cristata (L.) Kuntze)
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.0-1.5 ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก 
ผิวขรุขระ
     ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปหอกหรือรูปแถบแคบ กว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นและมีไข
ปกคลุม เส้นใบนูนเด่นด้านท้องใบ 
     ดอก ดอกช่อออกที่ปลายยอด ช่อดอกกว้าง 1.5-2.0 ซม. ช่อดอกมี 2 แบบคือ รูปทรงกระบอกและแบบรูปหงอนไก่ บางครั้งพบทั้งสองแบบในต้นเดียวกัน กลีบรวมมี 4 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.6-1.0 ซม. เกสรเพศผู้ปลายแหลมมี 5 อัน ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นแผ่นย่น เป็นก้อนกลม ใบประดับรองดอกขนาดเล็กเป็นเส้นคล้ายกำมะหยี่ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีหลายสี เช่น แดงสด ขาว และเหลือง
     ผล ผลรูปไข่ค่อนข้างกลม สีดำเป็นมัน ขนาดเล็ก ผลแห้งแตกแบบมีฝาเปิด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ เป็นมัน


5.ดอกพวงไข่มุก

     พวงไข่มุก หรือ ดอกอูน (ชื่อวิทยาศาสตร์Sambucus simpsonii Rehder)
ทางปราจีนบุรีเรียก ระป่า ทางแพร่เรียก อุนหรืออุนฝรั่ง เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 4 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อย 2-6 คู่ รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-15 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาว ขนาดเล็ก ผลสด รูปทรงกลม สีม่วงเข้ม ดอกมีกลิ่นหอม 

6.ดอกหางนกยูง

     หางนกยูงไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ (Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw)
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จำพอ ซำพอ (แม่ฮ่องสอน), ขวางยอย (นครราชสีมา), ชมพอ ส้มพอ ส้มผ่อ พญาไม้ผุ (ภาคเหนือ), นกยูงไทย (ภาคกลาง), หนวดแมว (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน, ฉานแม่ฮ่องสอน), หางนกยูง เป็นต้น
     ดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้ (ดอกของต้นดอกเหลือง)
     รากมีรสเฝื่อน นำมาต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้วัณโรคในระยะที่สาม (การนำมาใช้เป็นยาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต้นที่มีดอกสีแดง) (รากของต้นดอกแดง)
     เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
     รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (รากของต้นดอกแดง)
     รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (ราก)


ที่มา : 1.https://mickeyfon105.wordpress.com
           2.http://www.nongmaiclub.com
           3.https://th.wikipedia.org
           4.http://www.il.mahidol.ac.th
           5.http://frynn.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การแต่งกายของภาคเหนือ

การแต่งกายภาคเหนือ



             การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่ า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
             สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา



             การแต่งกายของชาวล้านนา แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่ โดยเฉพาะ จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย นับตั้งแต่สมัยของพระญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้

            “ล้านนา” ในปัจจุบันหมายถึง อาณาเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน การแต่งกายพื้นเมืองของล้านนา จึงหมายถึงการแต่งกายของชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในล้านนาในอดีตอาณาจักรล้านนาในบางยุคสมัยอาจครอบคลุมไปถึงรัฐ ต่างๆ เช่นสิบสองปันนา รัฐฉาน เชียงตุง เป็นต้น ซึ่งต่างก็เคยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน ชนกลุ่มใหญ่ที่สร้างสมอารยธรรมในล้านนาก็คือ “ชาวไทยวน” ซึ่ง ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า “คนเมือง” นอกจากนี้มีวัฒนธรรมกลุ่มชนต่างๆ ผสมผสานกันได้แก่ ชาวไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่(ไต) ชาวไทยวนในล้านนามีวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้สอยและแต่งกายเป็นเอกลักษณ์มา แต่โบราณ จากหลักฐานด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ ในเชียงใหม่และน่าน ในเชียงใหม่เช่นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์วรวิหาร และวัดป่าแดด จิตรกรได้เขียนไว้เป็นหลักฐานประกอบกับการบันทึกของมิชชั่นนารี หรือผู้รู้ที่เล่าสืบต่อกันมา

การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม             
               ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาใน อดีต เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความ เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้ ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๔



การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป
       ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
       หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า

ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
ทุกข์(จน)ไม่ มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้

ที่มา
1.https://sites.google.com/site/silpalaeawathnthrrm/silp-wathnthrrm-phakh-henux/1-kar-taeng-kay-phakh-henux

2.https://sites.google.com/site/kritlinna/kar-taeng-kay-phakh-henux-2

อุโบสถเงินหลังแรกของโลก

    การเดินทางมาวัดศรีสุพรรณ
ถ้าเริ่มต้นจากถนนรอบเมืองให้เลี้ยวเข้าถนนวัวลาย แล้วตรงมาประมาณ 600 เมตร จะเห็นป้ายวัดศรีสุพรรณอยู่ทางขวามือ ให้เลี้ยวขวาไปอีก 50 เมตรก็จะเจอวัดศรีสุพรรณ

   ประวัติวัดศรีสุพรรณ
วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นใน พ.ศ.2043 โดยพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์เชียงใหม่ราชธานี และพระนางสิริยสวดี พระราชมารดามหาเทวีเจ้า โปรดเกล้าให้มหาอำมาตย์ชื่อเจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ สร้างวัดชื่อว่า “วัดศรีสุพรรณอาราม” ต่อมาได้เรียกสั้นๆ ว่า “วัดศรีสุพรรณ”